10 อาการเตือนภัยบ่งบอกโรคอัลไซเมอร์

สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้กล่าวถึง 10 อาการเตือนภัยที่เราควรระมัดระวัง เมื่อเห็นว่าผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ และมีผลต่อการดำเนินชีวิต ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์


 1. อาการหลงลืม (memory loss)
ต้องบอกว่า อาการหลงลืมของอัลไซเมอร์นั้น ระยะแรกจะหลงลืมในสิ่งที่ผ่านมาไม่นาน หรือพึ่งเกิดขึ้น (เรียกว่า recent memory) เช่น วางของไว้ที่ไหน เมื่อวานเย็นไปกินข้าวกับใครที่ไหน อาทิตย์ก่อนใครมาเยี่ยม เดือนก่อนไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไหน ส่วนความจำเกี่ยวกับเรื่องเก่า ๆ นั้นมักจะหลงลืมก็ต่อเมื่ออาการเป็นสมองเสื่อมขั้นรุนแรง (severe dementia) แล้วเท่านั้น
ผู้ป่วยสมองเสื่อมจำนวนมากมักจะการถามอะไรซ้ำ ๆ เช่นถามว่า พรุ่งนี้จะไปไหนกัน ..... เว้นไปห้านาที ก็ถามใหม่ว่าพรุ่งนี้จะไปไหนกัน .... บางคนถามคำถามเดิมเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพราะ จำไม่ได้ว่าถามไปแล้ว 

2. ทำกิจวัตรประจำวันที่เคยทำมาไม่ได้ (Difficulty performing familiar tasks)
โดยจะเริ่มจากการทำกิจวัตรที่เคยทำที่ซับซ้อนไม่ได้ (เรียก instrumental activities of daily living)ผู้ป่วยอัลไซเมอร์คนหนึ่ง เป็นอาจารย์สอนใมหาวิทยาลัย ซึ่งสอนวิชาเคมี โดนสอนวิชานี้มานานหลายปีแล้ว เป็นประจำ แต่บัจจุบันมีปัญหาสอนไม่ได้ ... เวลาที่ขึ้นไปพูดหน้าห้อง นึกไม่ออก พูดได้แค่ตามที่เขียนใน power point นอกนั้นไม่สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ ทั้ง ๆ ที่สอนเหมือนเดิมมาหลายปีแล้ว เมื่อนักศึกษาถามก็ตอบไม่ถูกแม่บ้านที่ทำอาหารมาตลอดและทำได้อร่อย ....ลูก ๆ เริ่มสังเกตุว่ารสชาติอาหารเปลี่ยนไป ไม่อร่อยเหมือนเคย ... บางครั้งปรุอาหารผิด เช่นใส่ใบโหระพา แทนใบกระเพราในผัดกระเพราและเมื่อาการเริ่มเป็นมาก จะทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ไม่ได้ (basic activities of daily living)กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ นี่เช่น การทำอาหาร การกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน การแต่งตัว ก็จะทำเองไม่ได้

3. มีปัญหาในการใช้พูดหรือใช้ภาษา (Problems with language )
ในเรื่องของการใช้ภาษานั้น แน่นอนทุกคนอาจจะเคยพูดผิดบ้าง เรียกชื่อเพื่อนผิดบ้าง หรือนึกคำที่ไม่ค่อยได้ใช้ไม่ออกบางครั้ง แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปัญหาลืมแม้กระทั่งคำง่าย ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ นึกคำที่จะใช้ไม่ออก บางครั้งใช้คำผิด (เช่นเรียกหมูแทนไก่ พูดถึงเก้าอี้แต่เรียกเป็นโต๊ะ) หรือมีปัญหาในการพูดหรือเขียน จนทำให้ฟังหรืออ่านไม่ค่อยเข้าใจ นึกคำไม่ออก ..... ที่พบบ่อย ๆ คือผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์มักจะใช้คำว่า “ไอ้นั่น” “ไอ้นี่” “อันนั้น” “ที่นั้น” บ่อย ๆ .....(เหตุการณ์เกิดในครัวขณะแม่กับลูกสาวทำอาหารเย็นด้วยกัน) แม่ ลูกช่วยหยิบ “ไอ้นั้น” ให้หน่อยสิ
ลูกสาว “ไอ้นั้น” นี่อะไรล่ะแม่
แม่ ไอ้นั่นไง 
ลูกสาว ก็อะไรล่ะแม่ ....(ทำหน้างง ว่าจะให้หยิบอะไรกันแน่)
แม่ ก็ไอ้นั่น .... (ชี้นิ้ว) ก็ที่แบน ๆ เอาไว้ผัดผักไง
ลูกสาว อ๋อ ตะหลิวน่ะเหรอ .....
แม่ ลูก ๆ ใส่ผัก”อันนั้น”ในแกงจืดหน่อย
ลูกสาว ผักอะไรล่ะแม่ ?????
นี่เป็นตัวอย่างของการมีปัญหาในการใช้ภาษา เพราะผู้ป่วยนึกศัพท์ไม่ออก ใช้ไม่ถูก .... ทั้ง ๆ ที่ “ตะหลิว” เองก็เป็นสิ่งที่ใช้บ่อย ๆ ก็เรียกไม่ถูก ต้องใช้บรรยายคำใกล้เคียงแทน
อะไรที่อาจพบได้ในคนปกติ คือการนึกคำศัพท์ไม่ออกแบบนาน ๆ ที หรือศัพท์ที่ใช้ไม่บ่อยแล้วนึกไม่ออก ก็พบได้

4. ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ (disorientation to time and place)
ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจมีปัญหา ไม่รู้วัน เวลาและสถานที่ได้แน่นอนว่าบางครั้งคนทั่ว ๆ ไปอาจจะจำไม่ได้บ้างว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ (เช่นวันที่ 20) แต่มักไม่เป็นบ่อย ๆ แต่หากจำไม่ได้ว่าอยู่บ่อย ๆ ว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว ....วันนี้วันอะไร (วันเสาร์ อาทิตย์ จันทร์) หรือเดือนอะไร นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าไม่น่าจะใช่เรื่องปกติ ยิ่งหากจำถนนหนทางที่คุ้นเคย เช่นแถว ๆ บ้านไม่ได้ หรือหลงทางในบริเวณที่ไปเป็นประจำ ยิ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าไม่น่าจะธรรมดาปัญหาการไม่รู้สถานที่นี่มักทำให้เกิดปัญหาสำคัญที่เจอบ่อย ๆ ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นั่นคือการหลงทาง ... หลายคนออกจากบ้านแล้วหายไป เพราะกลับไม่ถูกหรือจำไม่ได้ 

5. การตัดสินใจแย่ลง (poor or decreased judgment )
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักประสบกับปัญหาการตัดสินใจที่แย่ลงและช้าลง ... เช่น เมื่อเกิดไฟดับ ผู้ป่วยอาจตกใจและลนลานไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง (ปกติก็คือ อาจหาเทียนไข หรือไฟฉายมาใช้ ) หรือเมื่อท่อน้ำในบ้านแตก ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง (ทั่วไปคืออาจไปปิดวาร์วน้ำ โทรหาช่าง หรือโทรถามคนอื่น) บางคนแคไปรษณีย์มาส่งพัศดุ ให้คนในบ้าน ก็งง ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรแล้ว เมื่อได้รับบิลค่าโทรศัพท์หรือค่าไฟแล้วไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไงกับบิลต่อไป ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางคนมีการตัดสินใจเลือกเสื้อผ้าแปลก ๆ ไม่เหมาะสมได้เช่น อาจใส่เสื้อผ้าหนาวในกรุงเทพหน้าร้อน หรือใส่สีไม่เข้ากันเลย (เช่นเสื้อเชิ๊ตสีแดง กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน) บางคนตัดสินใจในเรื่องการเงินแย่ลง เอาเงินไปแจกคนอื่น หรือลงทุนอย่างไม่เหมาะสมจนเป็นปัญหาตามมาได้ 

6. ความคิดและเหตุผลแย่ลง (problems with abstract thinking)
ความบกพร่องของความคิดอาจจะเห็นตั้งแต่ ผู้ป่วยดูคิดอะไรช้าลงมาก ถามอะไรก็อาจตอบช้ากว่าเมื่อก่อนเยอะ บางคนเริ่มคิดเลขไม่ได้ ไปซื้อของคำนวญราคาไม่ถูก คิดทอนเงินไม่ได้ หลาย ๆ คน เวลาที่อธิบายอะไรให้ผู้ป่วยฟัง ก็ยากที่จะเข้าใจ ไม่สามารถวางแผนการได้

7. วางของผิดที่ (misdisplacing)
นอกจากวางของแล้วจำไม่ได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะวางของในที่แปลก ๆ ที่ไม่ควรจะวาง เช่น เก็บโทรศัพท์ไว้ในตู้เย็น มาหม้อหุงข้าวมาเก็บไว้ในห้องนอน เป็นต้น

8. อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ( Mood and behavioral change )
อารมณ์ (emotion and affect) พบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวนหนึ่งนั้น มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อ ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบทำ ร้องไห้บ่อย ๆ รู้สึกว่าตัวเองไม่ดี หรือพูดถึงว่าไม่อยากอยู่แล้ว อยากฆ่าตัวตาย ..... ดังนั้นหากพบอาการซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุมาก ๆ อาจจะต้องระวังเรื่องของโรคอัลไซเมอร์ด้วย อีกอารมณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยคือ การมีอารมณ์หงุดหงิดโมโหได้ง่าย จากเดิมที่ไม่เป็น เอาแต่ใจ บางครั้งเวลาถูกขัดใจอาจมีตะโกนเสียงดัง ขว้างปาข้าวของ มีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (behavioral change) ผู้ป่วยบางคนอาจมีพฤติกรรมที่แปลก ๆ ผิดปกติไป ที่พบได้บ่อยเช่น บางคนเดินกลับไปกลับมาในบ้านซ้ำ ๆ โดยไร้จุดหมาย ผู้ป่วยคนหนึ่งค้นตู้เสื้อผ้าในบ้านออกมาจนหมดกระจุยกระจายเต็มบ้าน แล้วจัดเก็บเข้าไปใหม่ จากนั้นไม่นานก็ลื้อออกมาใหม่ ผู้ป่วยคนหนึ่งหยิบปากกาขึ้นมาส่องดูแล้วก็วาง แล้วสักพักก็ส่องดูใหม่วันละหลายสิบรอบ บางคนมีนิสัยเก็บสะสมของต่าง ๆ และขยะ ผู้ป่วยบางคนเก็บขยะจากที่ต่าง ๆ มาสะสมในบ้านหนักหลายกิโล

9. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ( Personality Change )
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนหนึ่งจะมีอาการนำมาด้วยมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากเดิมเป็นคนง่าย ๆ ไม่ค่อยพูดบ่นมาก ก็กลายเป็นคนที่พูดมาก บ่นจู้จี้จุกจิกไป บางคนที่เดิมเป็นคนร่าเริงสนุกสนานชอบงานสังคม ก็กลายเป็นคนเงียบ ๆ ไม่พูด ไม่ออกจากบ้าน ดังนั้นหากพบว่าคนรู้จักของเรามีนิสัย บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตอนอายุมาก ๆ อาจต้องนึกถึงว่านี่เป็นอาการนำของโรคสมองเสื่อม 

10. ขาดการคิดริเริ่มและความสนใจสิ่งแวดล้อม (loss of initiative)
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำนวนมากกว่าครึ่ง จะมีอาการขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว (อันนี้ต้องเปรียบเทียบจากนิสัยเดิมด้วย) เช่น ผู้ป่วยจะไม่คิดริเริ่มที่จะทำอะไร ไม่เป็นฝ่ายเริ่มคุยกับคนอื่นก่อน ถ้าคนอื่นไม่มาคุยด้วยก็จะไม่พูดอะไร มีส่วนร่วมในงานสังคมน้อยลง ไม่ค่อยสนใจสิ่งที่เคยสนใจทำมาก่อน ผู้ป่วยหลายคนวัน ๆ นั่งเฉย ๆ ไม่ทำอะไรได้ทั้งวันสิ่งที่พบได้ในคนปกติ การที่บางครั้ง บางวันอาจเบื่อไม่อยากทำอะไร แต่ไม่ควรเป็นต่อเนื่องกันหลาย ๆ วัน

ไปหน้าแรก  การดูแลสุขภาพ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น